วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS05-22/07/2552

สรุป Linked List and Stack
ลิงค์ลิสต์หลายทาง
มีอยู่หลายกรณีที่นำลิงค์ลิสต์มาใช้งานตามความเหมาะสมซึ่งแต่ละโหนดจะถูกกำหนดให้ส่วนการเชื่อมต่อมีมากกว่าสองทางเรียกว่าลิงค์ลิสต์หลายทาง (Multi-linked List) อย่างเช่นในรูป ที่แต่ละโหนดในลิงค์ลิสต์จะมีตัวชี้สามทางโดยมีพื้นฐานเป็นลิงค์ลิสต์สองทางซึ่งมีส่วนเก็บข้อมูลคือ NameLength เก็บค่าความยาวของสตริง กับส่วนเชื่อมต่อที่เป็นตัวชี้ Right และ Left และส่วนที่เชื่อมต่อที่สาม คือ ตัวชี้ NamePtr ใช้ชี้ไปยังข้อมูลจริงอีกทีซึ่งมีโครงสร้างข้อมูลสตริงเก็บไว้ในหน่วยความจำที่ขอมาแทนการเก็บไว้ภายในโหน

สแตค (Stack)
สแตคเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีลักษณะแบบลำดับ (sequential) คือการกระทำกับข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างเดียวกันที่ส่วนปลายสุดของสแตค การกระทำกับข้อมูลของสแตคประกอบไปด้วยการนำเข้าข้อมูลเข้า (PUSH) ที่ส่วนบนสุดของสแตค และการนำข้อมูลออก (POP) ที่ส่วนบนสุดของสแตคเช่นกัน ในการจะ Push ข้อมูลเข้าก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าข้อมูลในสแตคเต็มหรือไม่ หากสแตคเต็มก็จะไม่สามารถ Push หรือนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกับการ Pop ข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ามีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือสแตคว่าง (empty stack) ก็ไม่สามารถ pop ได้
การนำข้อมูลเข้า-ออก จากสแตค (push , pop) จะมีลักษณะแบบเข้าหลัง ออกก่อน (LIFO : Last In , First Out) คือ ข้อมูลที่เข้าไปในสแตคลำดับหลังสุด จะถูกนำข้อมูลออกจากสแตคเป็นลำดับแรก ยกตัวอย่างการทำงานแบบ LIFO เช่น การวางจานซ้อนกัน
รูปแสดงลักษณะของสแตค ที่ประกอบด้วยข้อมูล A , B , C , D และ E มี TOP
ที่ชี้ที่สมาชิกตัวบนสุดของสแตค




Operation ของสแตค
  • การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค (pushing stack)
  • การดึงข้อมูลออกจากสแตค (popping stack)

การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค
การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค คือ การนำเข้ามูลเข้าสู่สแตคโดยทับข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตค ข้อมูลจะสามารถนำเข้าได้เรื่อยๆ จนกว่าสแตคจะเต็ม สมมติว่าสแตคจองเนื้อที่ไว้ N ตัว ถ้าหากค่า TOP เป็น 0 แสดงว่าสแตคว่าง หากค่า TOP = N แสดงว่าสแตคเต็มไม่สามารถเพิ่มข้อมูลลงในสแตคได้อีก


จากรูปแสดง การ Push ข้อมูล ABC ลงในสแตคที่มีการจองเนื้อที่ไว้ N ตัว โดยมี TOP ชี้ข้อมูลตัวที่เข้ามาล่าสุด โดยค่าของ TOP จะเพิ่มขึ้นทุกครั้งเมื่อมีข้อมูลเข้ามาในสแตค
การดึงข้อมูลออกจากสแตค
ก่อนที่จะดึงข้อมูลออกจากสแตคต้องตรวจสอบก่อนว่าสแตคมีข้อมูลอยู่หรือไม่ หรือว่าเป็นสแตคว่าง (Empty Stack)

ตัวอย่างการทำงานแบบโครงสร้างข้อมูลแบบสแตกที่สามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่

-การวางจานซ้อนกันต้องวางจานลงบนกล่องเก็บจานจากล่างสุดที่ละใบ และสามารถใส่ได้จนเต็มกล่อง และเมื่อมีการวางจานจนเต็มกล่องแล้วจะไม่สามารถวางจานซ้อนได้อีกเพราะกล่องมีสภาพเต็ม แต่เมื่อเราจะหยิบจานไปใช้ เราต้องหยิบใบบนสุด ซึ่งเป็นจานที่ถูกวางเก็บเป็นอันดับสุดท้ายออกได้เป็นใบแรก และสามารถหย

-แก้วน้ำพาสติก,แก้วน้ำกระดาษ

-สก็อตเทปใส

-ยากัดยุงชนิดจุดไฟ

-ตั๋วรถเมล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น