วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ
วันศุกร์ ที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันปฐมนิเทศน์
- ได้รู้จักการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าเรียนในรายวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
- ได้รู้กฏระเบียบของการเข้าเรียน การมาเรียนในรายวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
- ได้รู้การปฏิบัติตัวที่ดีให้อยู่ในกฏระเบียบที่วางไว้
- ได้รู้เกณฑ์การตัดสินคะแนนในรายวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

วันศุกร์ ที่ 3 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2552
หลักการประกันคุณภาพ
- รู้จักความหมายของหลักการประกันคุณภาพ
- รู้ว่ามหาวิทยาลัยใช้หลักการประกันคุณภาพอย่างไร
- รู้จักการวางแผนในการทำงาน

วันศุกร์ ที่ 10 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2552
คุณธรรมจริยธรรม
- ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม
- รู้จักหลักการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน
- ได้นำหลักธรรมที่เรียนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- ได้พัฒนาความรู้เกี่ยวกับการใช้ปัญญาแก้ปัญหา

วันศุกร์ ที่ 17 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2552
การเงินส่วนบุคคล
- ได้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งการเ งิน
- ได้จัดทำการบันทึกรายรับ-รายจ่ายให้ทราบเกี่ยวกับการใช้เงิน รู้จักการอดออม และการประหยัด
- ได้ความรู้เรื่องการบริหารการเงิน

วันศุกร์ ที่ 24 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2552
การพัฒนาบุคคลิกภาพ
- รู้จักการแต่งกายให้ถูกระเบียบ ถูกกาละเทศะ และตามโอกาสต่างๆ
- รู้เรื่องการแต่งหน้าตามโอกาสต่างๆ
- ได้เรียนรู้เรื่องการพัฒนาบุคคลิกภาพตนเอง


วันศุกร์ ที่ 7เดือน สิงหาคม พ.ศ2552
กิจกรรมแขนงคอมพิวเตอร์
- ได้รู้จักการทำงานอย่างเป็นกระบวนการของแขนง
- ได้ช่วยงานอาจารย์ทำให้มีความรู้ในเรื่องของการทำงาน
- ได้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
- ได้รู้ว่าหลังจากจบการศึกษาในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์แล้วจะไปทำงานอะไรต่อไปใน
อนาคต

วันศุกร์ ที่ 14 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2552
กิจกรรมแขนงธุรกิจระหว่างประเทศ
- รู้จักในเรื่องของวัฒนธรรม ความเชื่อ แนวความคิดระหว่างประเทศ

วันศุกร์ ที่ 21 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2552
กิจกรรมแขนงการตลาด
- รู้จักเส้นทางแห่งความสำเร็จ
- รู้วิธีการดำเนินชีวิตที่ดี การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ ที่ 11 เดือน กันยายน พ.ศ. 2552
ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน
-รู้จักประเภทของภาษาไทย
- การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
- การรักษาวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย
- การใช้ภาษาไทยในโอกาสต่างๆ

วันศุกร์ ที่ 18 เดือน กันยายน พ.ศ. 2552
วันปัจฉิมนิเทศ
- รู้จักการกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
- การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข สงบสุขในสังคม
- การแก้ปัญหาเมื่อปัญหาเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

DTS 11-16-09-2552

สรุปเนื้อหาบทเรียน "Data Structure"
เรื่อง Searching

การค้นหาข้อมูล searching แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.การค้นหาข้อมูลแบบภายใน
2.การค้นหาข้อมูลแบบภายนอก

การค้นหาแบบเชิงเส้นหรือการค้นหาตามลำดับ (Linear)
ใช้กับข้อมูลที่ยังไม่ได้เรียงลำดับ มีวิธีโดยการนำข้อมูลที่ต้องการหามาเปรียบเทียบกับข้อมูลในแถวลำดับ ถ้าค่าข้อมูลที่ต้องการหาไม่ตรงกับค่าข้อมูลในแถวลำดับก็ทำการค้นหาไปเรื่อยๆ จนเจอค่าข้อมูลที่ต้องการจึงจะหยุดการค้นหา หรือจะหยุดการค้นหาก็ต่อเมื่อไม่พบค่าข้อมูล

การค้นหาแบบเซนทินัล (Sentinel)
มีลักษณะเช่นเดียวกับการค้นหาแบบเชิงเส้น แต่การค้นหานั้นเป็นการเปรียบเทียบค่าน้อยกว่าการค้นหาแบบเชิงเส้น มีวิธีโดยการเพิ่มพื้นที่ที่เก็บข้อมูลอีก 1 ที่ แล้วนำข้อมูลที่ต้องการค้นหาไปใส่ไว้ที่ต้น หรือท้ายอาเรย์ แล้วทำการตรวจสอบ ถ้าตำแหน่งที่พบเท่ากับ n-1 แสดงว่าหาข้อมูลไม่พบ นอกนั้นถือว่าพบข้อมูลที่ต้องการค้นหา

การค้นหาแบบไบนารี (Binary Search)
จะใช้กับข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเท่านั้น โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน การค้นหาเป็นวิธีค้นหาที่ไปยังค่ากลางเพื่อตรวจสอบหรือเปรียบเทียบว่าใช่ข้อมูลที่ต้องค้นหาหรือไม่ และจะละทิ้งข้อมูลส่วนหน้าหรือส่วนหลังขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลที่ต้องการค้นหามีค่ามากกว่า หรือน้อยกว่าข้อมูลค่ากลาง

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS 10-09-09-2552


Graph (ต่อ) และ Sorting

กราฟมีน้ำหนัก หมายถึง กราฟที่ทุกเอดจ์ มีค่าน้ำหนักกำกับ ซึ่งค่าน้ำหนักอาจสื่อถึงระยะทาง เวลา ค่าใช้จ่าย เป็นต้น นิยมนำไปใช้แก้ปัญหาหลัก ๆ 2 ปัญหา คือ1. การสร้างต้นไม้ทอดข้ามน้อยที่สุด(Minimum Spanning Trees :MST)1. เรียงลำดับเอดจ์ ตามน้ำหนัก2. สร้างป่าที่ประกอบด้วยต้นไม้ว่างที่มีแต่โหนด และไม่มีเส้นเชื่อม3. เลือกเอดจ์ที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดและยังไม่เคยถูกเลือกเลย ถ้ามีน้ำหนักซ้ำกันหลายค่าให้สุ่มมา 1เส้น4. พิจารณาเอดจ์ที่จะเลือก ถ้านำมาประกอบในต้นไม้ทอดข้ามน้อยที่สุดแล้วเกิด วงรอบ ให้ตัดทิ้งนอกนั้นให้นำมาประกอบเป็นเอดจ์ในต้นไม้ทอดข้ามน้อยที่สุด5. ตรวจสอบเอดจ์ที่ต้องอ่านในกราฟ ถ้ายังอ่านไม่หมดให้ไปทำข้อ 32. การหาเส้นทางที่สั้นที่สุด (Shortest path) Dijkstra’s Algorithmหาเส้นทางที่สั้นที่สุดจากโหนดต้นทางไปโหนดใด ๆ ในกราฟ มีน้ำหนัก และน้ำหนักไม่เป็นลบข้อกำหนดให้ เซต S เก็บโหนดที่ผ่านได้และมีระยะทางห่างจากจุดเริ่มต้นสั้นที่สุดให้ W แทนโหนด นอกเซต Sให้ D แทนระยะทาง (distance) ที่สั้นที่สุดจากโหนดต้นทางไปโหนดใด ๆ ในกราฟ โดยวิถีนี้ประกอบด้วย โหนดในเชตให้ S ถ้าไม่มีวิถี ให้แทนด้วยค่าอินฟินีตี้ (Infinity) : ∞


Sorting


การเรียงลำดับ (sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบมีแบบแผน ช่วยให้การค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล ซึ่งจะสามารถกระทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การค้นหาคำตามตัวอักษรไว้อย่างมีระบบและเป็นระเบียบ หรือ การค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ในสมุดโทรศัพท์ ซึ่งมีการเรียงลำดับ ตามชื่อและชื่อสกุลของเจ้าของโทรศัพท์ไว้ ทำให้สามารถค้นหา หมายเลขโทรศัพท์ของคนที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
วิธีการเรียงลำดับสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ(1)การเรียงลำดับแบบภายใน (internal sorting)เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก เวลาที่ใช้ในการเรียงลำดับจะคำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการเปรียบเทียบและเลื่อนข้อมูลภายในความจำหลัก(2) การเรียงลำดับแบบภายนอก(external sorting) เป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งเป็นการเรียงลำดับข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (file) เวลาที่ใช้ในการเรียงลำดับต้องคำนึงถึงเวลาที่เสียไประหว่างการถ่ายเทข้อมูลจากหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรองนอกเหนือจากเวลาที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูลแบบภายในการเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort)ทำการเลือกข้อมูลมาเก็บในตำแหน่งที่ ข้อมูลนั้นควรจะอยู่ทีละตัว โดยทำการค้นหาข้อมูลนั้นในแต่ละรอบแบบเรียงลำดับ
การเรียงลำดับแบบเลือกเป็นวิธีที่ง่าย แต่เสียเวลาในการจัดเรียงนาน โดยจะทำการเลือกข้อมูลมาเก็บไว้ตามตำแหน่งที่กำหนด คือ กำหนดให้เรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามาก ก็จะทำการเลือกข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยที่สุดมาอยู่ที่ตำแหน่งแรกสุด และค่าที่อยู่ตำแหน่งแรกก็จะมาอยู่แทนที่ค่าน้อยสุด แล้วทำการเลือกไปเรื่อยๆ จนครบทุกค่า ค่าที่ได้ก็จะเรียงจากน้อยไปหามาก


การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort)
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน

1. ถ้าข้อมูลทั้งสองไม่อยู่ในลำดับที่ถูกต้องให้สลับตำแหน่งที่อยู่กัน

2. ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมากให้นำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่ามาก ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากมากไปน้อยให้นำข้อมูล ตัวที่มีค่ามากกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่าน้อย


การเรียงลำดับแบบแทรก (insertion sort)
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ทำการเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปในเซต ที่มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับอยู่แล้ว และทำให้เซตใหม่ที่ได้นี้มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับด้วย วิธีการเรียงลำดับจะ1. เริ่มต้นเปรียบเทียบจากข้อมูลในตำแหน่งที่ 1 กับ 2หรือข้อมูลในตำแหน่งสุดท้ายและรองสุดท้ายก็ได้ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อย ไปมาก2. จะต้องจัดให้ข้อมูลที่มีค่าน้อยอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่ามาก และถ้าเรียงจากมากไปน้อยก็จะจัดให้ข้อมูลที่มีค่ามากอยู่ในตำแหน่งก่อน
การเรียงลำดับแบบฐานเป็นวิธีที่พิจารณาเลขที่ละหลัก โดยจะพิจารณาเลขหลักหน่วยก่อน แล้วทำการจัดเรียงข้อมูลทีละตัวตามกลุ่มหมายเลข จากนั้นนำข้อมูลที่จัดเรียงในหลักหน่วยมาจัดเรียงในหลักสิบต่อไปเรื่อยๆจนครบทุกหลัก ก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ การเรียงลำดับแบบฐานไม่ซับซ้อน แต่ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมาก

DTS 09-02-09-2552

Tree(ทรี) (ต่อ)
เอ็กซ์เพรสชันทรี (Expression Tree)



เป็นการนำเอาโครง สร้างทรีไปใช้เก็บนิพจน์ทางคณิตศาสตร์โดยเป็นไบนารีทรี ซึ่งแต่ละโหนดเก็บตัวดำเนินการ (Operator) และและตัวถูกดำเนินการ(Operand) ของนิพจน์คณิตศาสตร์นั้น ๆ ไว้ หรืออาจจะเก็บค่านิพจน์ทางตรรกะ (Logical Expression)นิพจน์เหล่านี้เมื่อแทนในทรีต้องคำนึงลำดับขั้นตอนในการคำนวณตาม ความสำคัญของเครื่องหมายด้วยโดยมีความสำคัญตามลำดับดังนี้
- ฟังก์ชัน
- วงเล็บ ( )
- ยกกำลัง
- เครื่องหมายหน้าเลขจำนวน
- คูณ หรือ หาร * /
- บวก หรือ ลบ + -
- ถ้ามีเครื่องหมายที่ระดับเดียวกันให้ทำจากซ้ายไปขวา
การ แทนนิพจน์ในเอ็กซ์เพรสชันทรี ตัวถูกดำเนินการจะเก็บอยู่ที่โหนดใบส่วนตัวดำเนินการจะเก็บในโหนดกิ่งหรือ โหนดที่ไม่ใช่โหนดใบเช่น นิพจน์ A + B สามารถแทนในเอ็กซ์เพรสชันทรีได้ดังนี้



ไบนารีเซิร์ชทรี (Binary Search Tree)
เป็นไบนารีทรีที่มีคุณสมบัติที่ว่าทุก ๆ โหนดในทรี ค่าของโหนดรากมีค่ามากกว่าค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางซ้าย และมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางขวา และในแต่ละทรีย่อยก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน ค่าข้อมูลในทรีย่อยทางซ้าย < ค่าข้อมูลที่โหนดราก < ค่าข้อมูลในทรีย่อยทางขวา กราฟ(Graph) กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ1. โหนด (nodes) หรือ เวอร์เทกซ์ (vertexes)2. เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (edges) กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด ถ้าเอ็จไม่มีลำดับความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบไม่มีทิศทาง (undirected graphs) และถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง (directed graphs) บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ (digraph)โดยทั่ว ๆ ไปการเขียนกราฟเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เราสนใจแทนโหนดด้วย จุด (pointes) หรือวงกลม (circles) ที่มีชื่อหรือข้อมูลกำกับ เพื่อบอกความแตกต่างของแต่ละโหนด และเอ็จแทนด้วยเส้นหรือเส้นโค้งเชื่อมต่อระหว่างโหนดสองโหนด ถ้าเป็นกราฟแบบมีทิศทางเส้นหรือเส้นโค้งต้องมีหัวลูกศรกำกับทิศทางของความสัมพันธ์ด้วย ** กราฟแบบไม่มีทิศทางเป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตอาจจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็นกราฟว่าง (empty graph) แต่ละเอ็จจะเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด หรือเชื่อมตัวเอง เอ็จไม่มีทิศทางกำกับ ลำดับของการเชื่อมต่อกันไม่สำคัญ นั่นคือไม่มีโหนดใดเป็นโหนดแรก (first node) หรือไม่มีโหนดเริ่มต้นไม่มีโหนดใดเป็นโหนดสิ้นสุด **ส่วนกราฟแบบมีทิศทาง เป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตอาจจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็นกราฟว่าง (empty graph) แต่ละเอ็จจะเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด เอ็จมีทิศทางกำกับแสดงลำดับของการเชื่อมต่อกัน โดยมีโหนดเริ่มต้น (source node) และโหนดสิ้นสุด (target node)

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS08-26/08/2552

ทรี (Tree)


ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship) ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ อย่างแพร่หลาย ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล

การเรียกชื่อองค์ประกอบของทรี
โหนดที่อยู่ระดับบนสุดของทรี = โหนดแม่
โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่ = โหนดลูก
โหนดที่อยู่ระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่ = โหนดราก
โหนดที่ไม่มีโหนดลูก = โหนดใบ
โหนดที่มีทั้งแม่และลูก = โหนดกิ่ง
โหนดที่มีแม่เดียวกัน = โหนดพี่น้อง

นิยามของทรี
1.) ด้วยนิยามของกราฟ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
-โหนดสองโหนดใด ๆ ในทรีต้องมีทางติดต่อกันทางเดียวเท่านั้น
-ทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น
การเขียนรูปแบบทรีด้วยนิยามของกราฟสามารถเขียนได้ 4 แบบ
1.)แบบที่มีรากอยู่ด้านบน
2.)แบบที่มีรากอยู่ด้านล่าง
3.)แบบที่มีรากอยู่ด้านซ้าย
4.)แบบที่มีรากอยู่ด้านขวา

2.) ด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟ กรณีที่โหนดว่างเรียกว่า (Null Tree) ถ้ามีโหนดเป็นโหนดราก ส่วนที่เหลือจะเป็นทรีย่อย
3.) นิยามที่เกี่ยวข้อง

1.)ฟอร์เรสต์ คือ การนำโหนดรากออก ส่วนทรีย่อยจะเป็นฟอร์เรสต์
2.)ทรีที่มีแบบแผน คือ โหนดต่างๆ มีความสัมพันธ์กัน จะแตกต่างกันตรงที่ทิศทางการเดินของข้อมูล แต่เหมือนกันตรงที่ มีจำนวนโหนดในทรีเท่ากัน และใช้ชื่อโหนดเหมือนกัน
3.)ทรีคล้าย คือ ทรีที่มีทิศทางการเดินของข้อมูลเหมือนกัน ถึงแม้ชื่อโหนดจะต่างกัน
4.)ทรีเหมือน คือ ทรีที่เหมือนกันทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ทิศทางการเดินของข้อมูล ชื่อของโหนด จำนวนโหนด
5.)กำลัง คือ จำนวนโหนดลูกของโหนดนั้นๆ
6.)ระดับของโหนด คือ ชั้นของโหนดที่ระบุด้วยหมายเลข โดยกำหนดให้โหนดรากอยู่ในระดับที่ 1 และไล่ระดับของโหนดด้วยการเพิ่มจำนวนทีละ 1

การแทนที่ทรีในหน่วยความจำหลัก
1.) โหนดแต่ละโหนดเก็บพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนดลูกทุกโหนด ซึ่งจะทำให้ฟิลด์มีจำนวนเท่ากัน มีขนาดเท่ากับโหนดที่มีลูกมากที่สุด โหนดที่ไม่มีลูกใส่ค่า Null แล้วให้ลิงค์ฟิลด์เก็บค่าพอยเตอร์ของโหนดลูกตัวถัดไปเรื่อยๆ เช่น ลิงค์ฟิลด์แรกเก็บค่าพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนดลูกลำดับแรก แต่การแทนที่ทรีด้วยวิธีนี้เป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่โดยใช่เหตุเนื่องจากว่าโหนดบางโหนดอาจมีโหนดลูกน้อย หรือไม่มีโหนดลูกเลย
2.) แทนทรีด้วยไบนารีทรี จะมีการกำหนดโหนดทุกโหนดให้มีจำนวนลิงค์ฟิลด์เพียงสองลิงค์ฟิลด์ โดยลิงค์ฟิลด์แรกเก็บที่อยู่โหนดลูกคนโต ลิงค์ฟิลด์ที่สองเก็บที่อยู่โหนดพี่น้อง กรณีไม่มีโหนดลูกและโหนดพี่น้องใส่ Null การแทนที่ทรีด้วยวินี้เป็นการประหยัดเนื้อที่ได้มาก
ไบนารีทรีแบบสมบูรณ์นั้นจะมีโหนดทรีย่อยทางด้านซ้ายและขวา ยกเว้นโหนดใบหรือโหนดที่ไม่มีลูก แต่โหนดใบจะต้องอยู่ในระดับเดียวกัน

การแปลงทรีทั่วไปให้เป็นไบนารีทรี มีขั้นตอนดังนี้
1.ให้โหนดแม่ชี้ไปยังโหนดลูกคนโตแล้วตัดความสัมพันธ์ระหว่างโหนดลูกอื่นๆ
2.เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโหนดพี่น้อง
3.ให้ทรีย่อยทางขวาเอียงลงมา 45 องศา

การท่องไปในไบนารีทรี
เป็นการเยือนทุกๆโหนด อย่างมีระบบแบบแผน สามารถเยือนโหนดได้โหนดละหนึ่งครั้ง วิธีการท่องนั้นอยู่ที่ว่าต้องการลำดับการเยือนอย่างไร โดย
- N อาจเป็นโหนดแม่
- L ทรีย่อยทางซ้าย
- R ทรีย่อยทางขวา

วิธีการท่องไปในทรีมี 6 วิธี แต่นิยมใช้กันมากคือ NLR , LNR , LRN
1.) การท่องไปแบบพรีออร์เดอร์ เป็นการเยือนด้วยวิธี NLR ในลักษณะการเข้าถึงจะเริ่มต้นจากจุดแรกคือ N จากนั้นจึงเข้าไปทรีย่อยด้านซ้ายและเข้าถึงทรีย่อยด้านขวา
2. ) การท่องไปแบบอินออร์เดอร์ เป็นการเยือนด้วยวิธี LNR สำหรับการเข้าถึงแบบอินออร์เดอร์จะดำเนินการเข้าเยี่ยมทรีย่อยด้านซ้ายก่อน จากนั้นจึงเข้าเยี่ยม N และสิ้นสุดการเข้าเยี่ยมที่ทรีย่อยด้านขวา
3. ) การท่องไปแบบโพสออร์เดอร์ เป็นการเยือนด้วยวิธี LRN การประมวลผลของโพสออร์เดอร์ จะเริ่มต้นด้วยทรีย่อยด้านซ้ายจานั้นมาประมวลผลต่อที่ทรีย่อยด้านขวาและสิ้นสุดการประมวลผลที่ N


วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS 07-05-08-2552

Queues

คิวเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับ (Sequential) ลักษณะของคิวเราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเข้าแถวตามคิวเพื่อรอรับบริการต่างๆ ลำดับการสั่งพิมพ์งาน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าลักษณะของการทำงานจะเป็นแบบใครมาเข้าคิวก่อนจะ ได้รับบริการก่อน เรียกได้ว่าเป็นลักษณะการทำงานแบบ FIFO (First In , First Out)

ลักษณะของคิว จะมีปลายสองข้าง ซึ่งข้างหนึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับข้อมูลเข้าที่เรียกว่า REAR และอีกข้างหนึ่งซึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับข้อมูลออก เรียกว่า FRONT


ในการทำงานกับคิวที่ต้องมีการนำข้อมูลเข้าและออกนั้น จะต้องมีการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่ เมื่อต้องการนำข้อมูลเข้า เพราะหากคิวเต็มก็จะไม่สามารถทำการนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกัน เมื่อต้องการนำข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยเช่นกัน ว่าในคิวมีข้อมูลอยู่หรือไม่ หากคิวไม่มีข้อมูลก็จะไม่สามารถนำข้อมูลออกได้เช่นกัน

การแทนที่ข้อมูลของคิว มี 2 วิธี คือ

1.การ แทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์ ซึ่งเป็นการจัดสรรเนื้อที่หน่วยความจำแบบสแตติก นั่นคือ มีการกำหนดขนาดของคิวล่วงหน้าว่ามีขนาดเท่าใดและจะมีการจัดสรรเนื้อที่หน่วย ความจำให้เลย

2.การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน
2.1. Head Node มี 3 ส่วน มีพอยเตอร์ 2 ตัว และ จำนวนสมาชิก
2.2. Data Node จะมีข้อมูล และ พอยเตอร์ชี้ตัวถัดไป

การดำเนินการเกี่ยวกับคิว

1.Create Queue คือการสร้างคิวขึ้นมา แล้วจัดสรรหน่วยความจำให้กับ Head Node และพอยเตอร์มีค่าเป็น Null
2.Enqueue คือ การเพิ่มข้อมูลลงไปในคิวโดยการเพิ่มจะเพิ่มจากส่วนท้าย
3.Dequeue คือ การนำข้อมูลในคิวออก จะออกโดยข้อมูลที่เข้าไปตัวแรกจะออกก่อน
4.Queue Front คือ การนำข้อมูลตัวแรกที่เข้าไปในคิวออกมาแสดง
5.Queue Rear คือ การนำข้อมูลตัวสุดท้ายที่เข้ามาในคิวออกมาแสดง
6.Empty Queue คือ เป็นการตรวจสอบว่าคิวนั้นยังคงว่างอยู่หรือไม่
7.Full Queue คือ เป็นการตรวจสอบว่าคิวนั้นเต็มหรือไม่
8.Queue Count คือ เป็นการนับจำนวนข้อมูลที่อยูในคิว ว่ามีจำนวนเท่าไร
9.Destroy Queue คือ การลบข้อมูลที่อยูในคิวทิ้ง

การเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว

การจะเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว จะกระทำที่ตำแหน่ง REAR หรือท้ายคิว และก่อนที่จะเพิ่มข้อมูลจะต้องตรวจสอบก่อนว่าคิวเต็มหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบค่า REAR ว่า เท่ากับค่า MAX QUEUE หรือไม่ หากว่าค่า REAR = MAX QUEUE แสดงว่าคิวเต็มไม่สามารถเพิ่มข้อมูลได้ แต่หากไม่เท่า แสดงว่าคิวยังมีที่ว่างสามารถเพิ่มข้อมูลได้ เมื่อเพิ่มข้อมูลเข้าไปแล้ว ค่า REAR ก็จะเป็นค่าตำแหน่งท้ายคิวใหม่

การนำข้อมูลออกจากคิว

การนำข้อมูลออกจากคิวจะกระทำที่ตำแหน่ง FRONT หรือส่วนที่เป็นหัวของคิว โดยก่อนที่จะนำข้อมูลออกจากคิวจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่ามีข้อมูลอยู่ในคิว หรือไม่ หากไม่มีข้อมูลในคิวหรือว่าคิวว่าง ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลออกจากคิวได้

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS06-29/07/2552

การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์
การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสตจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2ส่วนคือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data)และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูล

การดำเนินการเกี่ยวกับสแตกการดำเนินการเกี่ยวกับสแตก ได้แก่
1. Create Stack จัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Nodeและส่งค่าตำแหน่งที่ชี้ไปยัง Head ของสแตกกลับมา
2.Push Stack การเพิ่มข้อมูลลงไปในสแตก
3.Pop stack การนำข้อมูลบนสุดออกจากสแตก
4. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตกโดยไม่มีการลบข้อมูลออกจากสแตก
5.Empty Stack เป็นการตรวจสอบการวางของสแตกเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลออกจากสแตกที่เรียกว่า Stack Underflow
6. Full Stack เป็นการตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลเข้าสแตกที่เรียกว่า Stack Overflow
7. Stack Count เป็นการนับจำนวนสมาชิกในสแตก8.Destroy Stack เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน สแตก
8.Destroy Stack เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน สแตก

การใช้ สแตค เพื่อแปลรูปนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
รูปแบบนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
• นิพจน์ Infix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่ระหว่างตัวดำเนินการ (Operands) เช่น A+B-C
• นิพจน์ Prefix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หน้าตัวดำเนินการ (Operands) เช่น +-AB
• นิพจน์ Postfix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หลังตัวดำเนินการ (Operands) เช่น AC*+

ลำดับการทำงานของตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Operator Priority)
มีการลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการจากลำดับสำคัญมากสุดไปน้อยสุด คือ ลำดับที่มีความสำคัญมากที่ต้องทำก่อน ไปจนถึงลำดับที่มีความสำคัญน้อยสุดที่ไว้ทำทีหลัง ดังนี้


เครื่องหมายบวก ( + ) , ลบ ( - )
เครื่องหมายคูณ ( * ) , หาร ( / )
เครื่องหมายวงเล็บเปิด (
เครื่องหมายวงเล็บปิด )

ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์ Postfix

1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ จะนำค่าลำดับความสำคัญของตัว ดำเนินการที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่บนสุดของสแตก
- ถ้ามีความสำคัญมากกว่า จะถูก push ลงในสแตก
- ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าหรือเท่ากัน จะต้อง pop ตัวดำเนินการที่อยู่ในสแตกขณะนั้นไปเรียงต่อกับตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตกนำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ popวงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5. เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infix หมดแล้ว ให้ทำการ Pop ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์Postfix


เช่น
*** เครื่องหมายดำเนินการ (operand) ได้แก่เครื่องหมาย + - * ^ ตัวถูกดำเนินการ ได้แก่ สัญลักษณ์แทนค่าตัวเลข เช่น A B C Dหรือตัวแปรอื่น
สำหรับการดำเนินการด้านการคำนวณนั้น ในระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถที่จะจัดลำดับของการคำนวณในรูปแบบของ infix ได้ แต่จะแปลงเป็นนิพจน์ของ infix หรือ prefix เสียก่อน โดยลักษณะของการแปลงนิพจน์จะใช้การเปรียบเทียบความสำคัญของตัวดำเนินการ
ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ
+ -
* /
(
)

ขั้นตอนการแปลง infix เป็น postfix
1.อ่านอักขระใน infix
2.ถ้าเป็น operand ย้ายไปใส่ใน postfix
3.ถ้าเป็น operator จะต้องดูลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการด้วยแล้วใส่ลงในสแตกที่เก็บตัวดำเนินการ ถ้ามีค่ามากกว่าให้ push ถ้ามีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากันให้ pop ออกแล้วไปเรียงต่อตัวอักษรใน postfix
4.ตัวดำเนินการที่เป็น ) จะไม่ถูก push แต่จะทำให้ตัวดำเนินการตัวอื่นถูก pop ออกมาแล้วไปเรียงต่อใน postfix
5.เมื่ออ่านอักขระใน infix หมด ให้ pop ตัวดำเนินการทุกตัวมาเรียงต่อใน postfix
*** ถ้าเจอเครื่องหมาย + - หลังเครื่องหมาย * / ให้ pop เครื่องหมายในสแตกออก
ถ้าเจอเครื่องหมาย * / หลังเครื่องหมาย + - ให้ push ลงในสแตก
การคำนวณค่า postfix
1.อ่านตัวอักษรจาก postfix ที่ละตัว
2.ถ้าเป็น operand ให้ push ไปเรื่อยๆ
3.ถ้าเป็น operator ให้ pop ตัวอักษรออก 2 ตัว แล้วทำการคำนวณตัวที่ถูก pop ที่หลังจะเป็นตัวตั้งแล้วนำ push ผลลัพธ์ลงไป

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน iostream.h และ stdio.h

การเขียนโปรแกรมโดยใช้ iostream.h
#include
#include
void main()
{ int number1,number2,number3;
clrscr();
cout<< "Please enter 3 integer number : \n";
cin>>number1>>number2>>number3;
cout<< "\nPress any key to display...";
getch();
clrscr();
cout<< "You enter 3 number : \n\a";
cout<< "Value of number1 : " <cout<< "\nValue of number 2 : " <cout<< "\nValue of number 3 : " <cout<< "\n\nPress any key to exit...";
getch(); //wait press any key
}
การเขียนโปรแกรมโดยใช้ stdio.h
#include
#include
void main()
{
int number1,number2,number3;
clrscr();
printf("Please enter 3 integer number : \n");
scanf("%d",&number1);
scanf("%d",&number2);
scanf("%d",&number3);
printf("\nPress any key to display...");
getch();
clrscr();
printf( "You enter 3 number : \n\a");
printf( "Value of number1 : %d",number1);
printf( "\nValue of number 2 : %d",number2);
printf( "\nValue of number 3 : %d",number3);
printf( "\n\nPress any key to exit...");
getch();
}

DTS05-22/07/2552

สรุป Linked List and Stack
ลิงค์ลิสต์หลายทาง
มีอยู่หลายกรณีที่นำลิงค์ลิสต์มาใช้งานตามความเหมาะสมซึ่งแต่ละโหนดจะถูกกำหนดให้ส่วนการเชื่อมต่อมีมากกว่าสองทางเรียกว่าลิงค์ลิสต์หลายทาง (Multi-linked List) อย่างเช่นในรูป ที่แต่ละโหนดในลิงค์ลิสต์จะมีตัวชี้สามทางโดยมีพื้นฐานเป็นลิงค์ลิสต์สองทางซึ่งมีส่วนเก็บข้อมูลคือ NameLength เก็บค่าความยาวของสตริง กับส่วนเชื่อมต่อที่เป็นตัวชี้ Right และ Left และส่วนที่เชื่อมต่อที่สาม คือ ตัวชี้ NamePtr ใช้ชี้ไปยังข้อมูลจริงอีกทีซึ่งมีโครงสร้างข้อมูลสตริงเก็บไว้ในหน่วยความจำที่ขอมาแทนการเก็บไว้ภายในโหน

สแตค (Stack)
สแตคเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีลักษณะแบบลำดับ (sequential) คือการกระทำกับข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างเดียวกันที่ส่วนปลายสุดของสแตค การกระทำกับข้อมูลของสแตคประกอบไปด้วยการนำเข้าข้อมูลเข้า (PUSH) ที่ส่วนบนสุดของสแตค และการนำข้อมูลออก (POP) ที่ส่วนบนสุดของสแตคเช่นกัน ในการจะ Push ข้อมูลเข้าก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าข้อมูลในสแตคเต็มหรือไม่ หากสแตคเต็มก็จะไม่สามารถ Push หรือนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกับการ Pop ข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ามีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือสแตคว่าง (empty stack) ก็ไม่สามารถ pop ได้
การนำข้อมูลเข้า-ออก จากสแตค (push , pop) จะมีลักษณะแบบเข้าหลัง ออกก่อน (LIFO : Last In , First Out) คือ ข้อมูลที่เข้าไปในสแตคลำดับหลังสุด จะถูกนำข้อมูลออกจากสแตคเป็นลำดับแรก ยกตัวอย่างการทำงานแบบ LIFO เช่น การวางจานซ้อนกัน
รูปแสดงลักษณะของสแตค ที่ประกอบด้วยข้อมูล A , B , C , D และ E มี TOP
ที่ชี้ที่สมาชิกตัวบนสุดของสแตค




Operation ของสแตค
  • การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค (pushing stack)
  • การดึงข้อมูลออกจากสแตค (popping stack)

การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค
การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค คือ การนำเข้ามูลเข้าสู่สแตคโดยทับข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตค ข้อมูลจะสามารถนำเข้าได้เรื่อยๆ จนกว่าสแตคจะเต็ม สมมติว่าสแตคจองเนื้อที่ไว้ N ตัว ถ้าหากค่า TOP เป็น 0 แสดงว่าสแตคว่าง หากค่า TOP = N แสดงว่าสแตคเต็มไม่สามารถเพิ่มข้อมูลลงในสแตคได้อีก


จากรูปแสดง การ Push ข้อมูล ABC ลงในสแตคที่มีการจองเนื้อที่ไว้ N ตัว โดยมี TOP ชี้ข้อมูลตัวที่เข้ามาล่าสุด โดยค่าของ TOP จะเพิ่มขึ้นทุกครั้งเมื่อมีข้อมูลเข้ามาในสแตค
การดึงข้อมูลออกจากสแตค
ก่อนที่จะดึงข้อมูลออกจากสแตคต้องตรวจสอบก่อนว่าสแตคมีข้อมูลอยู่หรือไม่ หรือว่าเป็นสแตคว่าง (Empty Stack)

ตัวอย่างการทำงานแบบโครงสร้างข้อมูลแบบสแตกที่สามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่

-การวางจานซ้อนกันต้องวางจานลงบนกล่องเก็บจานจากล่างสุดที่ละใบ และสามารถใส่ได้จนเต็มกล่อง และเมื่อมีการวางจานจนเต็มกล่องแล้วจะไม่สามารถวางจานซ้อนได้อีกเพราะกล่องมีสภาพเต็ม แต่เมื่อเราจะหยิบจานไปใช้ เราต้องหยิบใบบนสุด ซึ่งเป็นจานที่ถูกวางเก็บเป็นอันดับสุดท้ายออกได้เป็นใบแรก และสามารถหย

-แก้วน้ำพาสติก,แก้วน้ำกระดาษ

-สก็อตเทปใส

-ยากัดยุงชนิดจุดไฟ

-ตั๋วรถเมล์

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS04-15/07/2552

ลิงค์ลิสต์(Linked List)

ลิงค์ลิสต์ (Linked List) เป็นวิธีการเก็บ ข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเม้นต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละอิลิเม้นท์ เรียกว่าโนด (Nodeซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ Dataจะเก็บข้อมูลของอิลิเม้นท์ และส่วนที่สอง คือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บ ตำแหน่งของโนดต่อไปใน ลิสต์



โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์ประกอบด้วย 2 ส่วน

1.Head Structure แบ่งเป็น 3 ส่วน

-count เป็นการนับจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ในลิสต์นั้น

-pos พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง

-head พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดแรกของลิสต์

2.Data Node Structure จะประกอบด้วย ข้อมูลและพอยเตอร์ที่ชี้ไปโหนดถัดไป

การเพิ่มข้อมูลลงไปในลิงค์ลิสต์
จากที่ Head Structure ในส่วนของ count จะมีค่าเป็น 0 นั้นหมายถึงในลิสต์นั้นยังไม่มีข้อมูลใดเลย ส่วน head จะมีเครื่องหมายกากบาท นั้นหมายถึงในลิสต์นั้นไม่มีการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลแรก แต่ถ้าต้องการเพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์ Data Node ในส่วนของข้อมูล (Data)จะมีค่าเก็บอยู่ แล้ว count ก็จะเปลี่ยนค่าจาก 0 เป็น 1 คือ การบ่งบอกถึงจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ในลิสต์นั้น แล้ว head ก็จะชี้ไปยังข้อมูล (Data) ตัวแรกของลิสต์ ส่วนพอยเตอร์ที่ชี้ไปโหนดถัดไปจะเป็นเครื่องหมายกากบาทแทน

การลบข้อมูลในลิงค์ลิสต์

ถ้าต้องการลบข้อมูลตัวใดในลิสต์สามารถลบได้เลย แต่ต้องเปลี่ยน head เพื่อชี้ไปยังข้อมูลตัวแรกของลิสต์กรณีที่ลบข้อมูลตัวแรกออก แล้ว link คือ เมื่อลบข้อมูลตัวใดออกควรชี้ link ถัดไปให้ถูกต้องด้วย

กระบวนงานและฟังกชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน

1. กระบวนงาน Create List หน้าที่ สร้างลิสตว่าง ผลลัพธ์ ลิสต์ว่าง

2. กระบวนงาน Insert Nodeหน้าที่เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสตบริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้าลิสต์ ข้อมูล และตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสตที่มีการเปลี่ยนแปลง

3. กระบวนงาน Delete Node หน้าที่ลบสมาชิกในลิสตบริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้าข้อมูลและ ตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสตที่มีการเปลี่ยนแปลง


ลิงค์ลิสต์ (Link List)

โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไดนามิก โดยที่ขนาด ของมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยสมาชิกแต่ละตัวของลิงค์ลิสต์จะถูกเรียกว่าโหนด (Node) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนของข้อมูล (Data) และส่วนที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ของ โหนดตัวต่อไปในลิงค์ลิสต์ (Next Address) หรืออาจเรียกว่า พอยเตอร์ (Pointer) ซึ่งทำให้ เราสามารถกำหนดตำแหน่งของโหนดตัวต่อไปได้ กล่าวคือ โหนดตัวแรกจะมี พอยเตอร์ ชี้ไปยังโหนดตัวที่สอง โหนดตัวที่สอง มีพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนดตัวที่สาม เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

ลิงค์ลิสต์แบบวงกลม (Circular Link List)

ลิงค์ลิสต์ที่มีการกำหนดให้โหนดสุดท้ายชี้ไปยังโหนดแรก ซึ่งจะเรียกลิสต์แบบนี้ว่า ลิงค์ลิสต์แบบวงกลม การท่องลิสต์แบบนี้เมื่อมาถึงโหนดสุดท้าย สามารถวนไปยัง โหนดแรกได้

ลิงค์ลิสต์แบบ 2 ทิศทาง (Doubly Link List)

โครงสร้างข้อมูลลิงค์ลิสต์แบบ 2 ทิศทาง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่สมาชิกแต่ละตัวของ ลิงค์ลิสต์หรือโหนด ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อมูล (data) ส่วนที่สอง เป็นตำแหน่งที่อยู่ของโหนดก่อนหน้า(previous address) ในลิงค์ลิสต์ ส่วนที่สาม เป็นตำแหน่งที่อยู่ของโหนดตัวต่อไป (next address) ในลิงค์สิศต์ ทำให้เราสามารถลบ หรือเพิ่มโหนดที่อยู่ก่อนหน้า และสามารถลบหรือเพิ่มโหนดที่อยู่ตามหลังโหนดนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งสามารถแสดงข้อมูลของโหนดที่อยู่ก่อนหน้า และโหนดที่อยู่ตามหลังโหนดนั้นๆได้


วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03-2/07/2552

สรุป Pointer , Set and String
Pointer เป็นตัวแปรชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่(Address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ
การประกาศชนิดของตัวแปรพอยน์เตอร์
รูปแบบ
type *variable-name
* หมายถึง เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ตัวแปรที่ตามหลังเครื่องหมายนี้เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์
type หมายถึง ชนิดของตัวแปร
variable-name เป็นชื่อของตัวแปรที่ต้องการประกาศว่าเป็นชนิดพอยน์เตอร์
เครื่องหมายที่ใช้ทำงานกับตัวแปรพอยน์เตอร์
1. & หมายถึง เป็นเครื่องหมายที่ใช้เมื่อต้องการให้เอาค่าตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปรที่เก็บไว้ในหน่วยความจำออกมาใช้
ตัวอย่าง
char *prt;
หมายความว่า ประกาศค่าตัวแปร prt เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์ ที่เก็บใช้ตำแหน่งเริ่มต้นที่จะเก็บ character
int *a;
หมายความว่า ประกาศค่าตัวแปร a เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์ที่ใช้เก็บตำแหน่งเริ่มตนที่จะใช้เก็บ integer
2. เครื่องหมาย * มีการใช้สองลักษณะ คือ
- ใช้ในการประกาศ parameter ว่าเป็นตัวแปรแบบพอยน์เตอร์ เช่น
void swap(int *p,int *q)
{
.........................
}
- ใช้เป็น dereferencing operator จะใช้เมื่อต้องการนำค่าที่อยู่ในตำแหน่งที่ตัวแปรพอยน์เตอร์นั้นชี้อยู่ออกมาแสดง
การใช้ตัวแปรพอยน์เตอร์กับอะเรย์
ตัวแปรพอยน์เตอร์จะใช้อ้างถึค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรชุดได้ ดังนี้
ตัวอย่าง char str[80], *pl;
pl = str;
บรรทัดที่ 1 เป็นการประกาศว่า หะพ เป็นตัวแปรชุดชนิด character 1 มิติ มีขนาดสมาชิก 80 สมาชิกและpl เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์
บรรทัดที่ 2 เป็นการอ้างถึงข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรชุด str โดยการนำตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปร str[0] ซึ่งเป็นสมาชิกตัวแรกไปเก็บไว้ใน ตัวแปรพอยน์เตอร์ pl เหมือนกันใช้คำส่ง
pl = &str[0]
การอ้างถึงตัวแปรชุด สามารถอ้างถึงโดยการเพิ่มหรือลดตัวแปรพอยน์เตอร์ได้ เช่น ต้องการอ้างถึงตัวแปร
str[4] ทำได้โดย *(pl+4)
โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแตละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน ในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับภาษาปาสคาล
โครงสร้างข้อมูลแบบสตตริง
สตริง หรือ สตริงของอักขระ เป็นข้อมูลที่ประกอบบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ หรือโปรแกรมประเภทประมวลคำ ซึ่งมีการทำงานที่อำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น การตรวจสอบข้อความ การจัดแนวข้อความ ในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ เป็นต้น
เช่น "This is String !" จะเป็นข้อมูลแบบสตริงยาว 16 อักขระ
สตริงกับอะแรย์
สตริง คือ อะเรย์ของอักขระ เช่น char a[6]
อาจจะเป็นอะเรย์ขนาด 6 ช่องอักขระ หรือ เป็นสตริงขนาด 5 อักขระก้อได้ โดยจุดสิ้นสุดของ string จะจบด้วย \0 หรือ null character เช่น
char a[]={'H','E','L','L','o','\0'};
char a[]="hello";
การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงที่ (String Constants)
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์
สามารถกหนด ได้ทั้งนอกและในฟังก์ชัน เมื่อกำหนดไว้นอกฟังก์ชัน ซึ่งค่าคงตัวจะเป็นพอนยเตอร์ชี้ไปยังหน่อยความจำที่เก็บตัวมันเอง
การกำหนดค่าให้กับสตริงนั้น เราจะใช้เครื่องหมาย double quote (" ") เช่น "abc" คือ ชุดของอักขระที่มีขนาด4 (รวม \0ด้วย)

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02-24/06/2552

สรุปบทเรียน Array and Record

Array

อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะคล้ายเส้นคณิตศาสตร์
จะเป็นโครงสร้างข้อมูลชนิดเชิงเส้นพื้นฐานที่สุด มีสมาชิกที่เป็นข้อมูลประเภทเดียวกัน มี จำนวนจำกัดแน่นอน ต้องเรียงลำดับกันไป การอ้างถึงจะอ้างถึงโดยการ ใช้ดรรชนีกำกับ (subscript)จำนวน ดรรชนี กำกับเรียกว่า มิติ(dimention) การกำหนดอะเรย์จะต้องมีการกำหนดชื่อของอะเรย์ และขนาดของอะเรย์ ชนิดของอะเรย์
ตัวแปรอาเรย์สามารถเก็บข้อมูลหลายๆข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องใช้ตัวแปรหลายตัว เช่นถ้าต้องการเก็บความสูงของเพื่อนทั้ง 20 คน ถ้าเราใช้ตัวแปรแบบ high เราจะต้องประกาศตัวแปร high1, high2, high3,.....,high20 ให้เป็นแบบ high ซึ่งเป็นการประกาศตัวแปรถึง 20 ตัวด้วยกัน แต่ถ้าใช้อาเรย์เราประกาศตัวแปร high ให้เป็นอาเรย์แบบ int เพียงตัวเดียวก็สามารถเก็บค่าทั้ง 20 ค่าได้แล้ว
การกำหนดอะเรย์
การกำหนดอะเรย์จะต้องกำหนดชื่ออะเรย์ พร้อม subscript ซึ่งเป็นตัวกำหนดของเขตของอะเรย์ มีได้มากกว่า 1 จำนวน subscript จะเป็นตัวบอกมิติ ของอะเรย์นั้น อะเรย์ที่มี subscript มากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป จะเรียกว่า อะเรย์หลายมิติ

อะเรย์ 1 มิติ

ก่อนที่ จะใช้ Array จะต้องกำหนด Array ก่อนเสมอ ในส่วนข้อกำหนดตัวแปร สำหรับ Array 1 มิติ มีรูปแบบการกำหนดดังนี้
Data type Array name[Size];
เช่น
int x[10];
char ch[5];
ในที่นี้กำหนด Array x มีขนาด 10 นั้นคือ จะมีตัวแปร Array (Array Variable) 10 ตัว คือ x[0], x[1], x[2], ..., x[9] ตัวแปร Array เหล่านี้ จะเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม สำหรับ Array ch ขะเก็บข้อมูล String ซึ่งมีความยาว หรือจำนวนตัวอักษร ไม่เกิน 4 ตัวอักษร
ใน C++ ตัวแปร Array ตัวแปรตัวแรก จะมี Index เป็น 0 เสมอ การอ้างถึงตัวแปร Array ใดๆ จะต้องระบุด้วยชื่อ Array และ Index ซึ่งอยู่ภายในเครื่องหมาย [] เช่น x[2] หมายถึงตัวแปร Array ตัวที่ 3

ตัวอย่าง โปรแกรมที่ 1
#include "stdio.h"
#include "conio.h"
main()
{
int a[3];
clrscr();
a[0] = 1;
a[1] = 5;
a[2] = 2;
printf("a[0] = %d\n",a[0]);
printf("a[1] = %d\n",a[1]);
printf("a[2] = %d\n",a[2]);
}
ผลลัพธ์
a[0] = 1
a[1] = 5
a[2] = 2

อะเรย์ 2 มิติ

รูปแบบ
type array-name[n][m];
type หมายถึง ชนิดของตัวแปรที่ต้องการประกาศเป็นอะเรย์
array-name หมายถึง ชื่อของตัวอปรที่ต้องการประกาศ
n หมายถึง ตัวเลขที่แสดงตำแหน่งของแถว
m หมายถึง ตัวเลขที่แสดงตำแหน่งของคอลัมน์

อาเรย์ 2 มิติจะเก็บข้อมูลไว้ในลักษณะของตาราง การสร้างอาเรย์ 2 มิตินั้นเราจะเขียนโค้ดภาษาซีดังนี้

การประกาศ Array 2 มิติ

data_type ArrayName[][];
data_type คือ ชนิดของตัวแปร
data_type คือ ชนิดของตัวแปร ArrayName คือ ชื่อตัวแปร อาเรย์ 2 มิติ ตัวอย่าง เช่น int m[][];
String name[][];
การสร้าง Array 2 มิติ data_type Array_Name[][]=new data_type[size][size];
data_type คือ ชนิดของตัวแปร
ArrayName คือ ชื่อตัวแปร อาเรย์ 2 มิติ
size คือ ขนาดของอาเรย์
ตัวอย่าง เช่น int m[][]=new int[2][3];
String name[][] = new String[3][2];

Structureคือ โครงสร้างข้อมูลที่มีประเภทข้อมูลแตกต่างชนิดกันได้ สมาชิกอาจเป็น จำนวนเต็ม ทศนิยม หรือพอยเตอร์ก็ได้ เมื่อต้องการอ้างถึงตัวแปรในโครงสร้างของ structure จะใช้มาเป็นตัวอ้างเราสามารถประกาศ Structure หนึ่งเป็นสมาชิกของอีก Structure ก็ได้แต่ต้องประกาศตัวที่จะนำไปใส่ไปไว้อีก Structure ก่อน

การบ้าน

#include

#include

main ()

{

struct personal{

char name[30];

char Lastname[30];

char nickname[15];

char address[20];

char sex[20];

int brithday;

int year;

int high;

int weight;

int telephone[10];

}employee;


strcpy(employee.name,"waraporn");

strcpy(employee.lastname, "nummamuang");

strcpy(employee.nickname,"pond");

strcpy(employee.address,"bangkok");

strcpy(employee.sex,"female");

employee.brithday=911;

employee.year=1989;

employee.high=165;

employee.weight=45;

employee.029686473;


printf("name is : %s\n",employee.name);

printf("lastname is : %s\n",employee.lastname);

printf("nickname is : %s\n",employee.nickname);

printf("address is : %s\n",employee.address);

printf("sex is : %s\n",employee.sex);

printf("brithday is : %d\n",employee.brithday);

printf("year is : %d\n",employee.year);

printf("high is : %d\n",employee.high);

printf("weight is : %d\n",employee.weight);

printf("telephone is : %d\n",employee.telephone);

ประวัติ


ชื่อ นางสาววราภรณ์ นำมะม่วง รหัส 50152792011

Miss Waraporn Nummamuang

ชื่อเล่น พลอย

เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน 2532

ส่วนสูง 164 เซนติเมตร

น้ำหนัก 46 กิโลกรัม

ที่อยู่ปัจจุบัน 1564/250 หมู่บ้านพิบูล 2 ถนนพิบูลสงคราม แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ

กรุงเทพมหานคร 10800

เบอร์โทร 02-9135902

การศึกษาปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ

งานอดิเรก ดูหนัง ฟังเพลง

E-meil pond.meaw@gmail.com , pond_mommeaw@hotmail.com

คติประจำใจ อย่าเพิ่งท้อแท้ในสิ่งที่ไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวังในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น